ประสิทธิภาพของเมเพริดีนทางหลอดเลือดดำในการระงับปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอด
สุกรี สุนทราภา, วรลักษณ์ สมบูรณ์พร, รัตนา คำวิลัยศักดิ์, ศกุนตลา สุขปัญญา, รัตนา คำวิลัยศักดิ์, วรลักษณ์ สมบูรณ์พร, ศกุนตลา สุขปัญญา, สุกรี สุนทราภา
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงของการใช้เมเพริดีนทางหลอดเลือดดำเพื่อระงับปวดในการคลอดวัสดุและวิธีการ: แบ่งสตรีที่มาคลอดบุตรจำนวน 84 ราย เป็นสองกลุ่มโดยวิธีสุ่ม กลุ่มควบคุมให้ normal saline กลุ่มทดลองให้เมเพริดีน ประเมินผลโดยการวิเคราะห์คะแนนความเจ็บปวดโดยผู้ป่วย (Visual analogue scale) และสอบถามความคิดเห็นในการระงับปวดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาการข้างเคียงประเมินจากระดับความง่วงนอน  อาการคลื่นไส้/อาเจียน อาการเวียนศีรษะ วิธีการคลอด Apgar scores และจำนวนการใช้ยา naloxone ในทารกผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดโดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่าระดับความง่วงนอน อาการคลื่นไส้/อาเจียน และเวียนศีรษะในกลุ่มที่ได้รับเมเพริดีนมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการสอบถามผลการระงับปวดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดพบว่า เมเพริดีนได้ผลระงับปวดเพียงร้อยละ 23.8 แต่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งได้ผลเพียงร้อยละ 7.10สรุปผลการวิจัย: การใช้เมเพริดีนทางหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพในการระงับปวดในขณะเจ็บครรภ์คลอดเพียงร้อยละ 23.8 และยังอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลายอย่าง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2545, November ปีที่: 85 ฉบับที่ 11 หน้า 1169-1175
คำสำคัญ
meperidine, Labour pain, Pain relief, การเจ็บครรภ์คลอด, การระงับปวด, เมเพริดีน