การประยุกต์คะแนนความเสี่ยงโรคเบาหวานสำหรับคนไทยสู่การวิเคราะห์ต้นทุน - ประสิทธิผลของการป้องกันปฐมภูมิกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ขวัญดาว พันธ์หมุด, ณัฐพล ผลโยน, พิมพ์วลัญช์ พึ่งผาสุก, มนู ชัยวงศ์โรจน์*, อเนก ทนงหาญ
Thatpanom Crown Hospital, Thatpanom District, Nakhon Phanom Province
บทคัดย่อ
                การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลของการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลินในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้คะแนนความเสี่ยงโรคเบาหวานสำหรับคนไทยวัดประสิทธิผล ประชากรศึกษาคือกลุ่มเสี่ยงเบาหวานตามเกณฑ์คัดกรองด้วยวาจาและมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปรกติ 1,182 ราย ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 400 คนที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลุ่มควบคุมที่รับบริการตามปรกติ 400 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน แบบบันทึกต้นทุนของผู้รับและหน่วยบริการ กิจกรรมป้องกันปฐมภูมิโรคเบาหวานของค่ายกระตุ้นความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน; ค่าอัตราส่วน ทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วยการทดสอบทีและการทดสอบทีจับคู่ กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05                การศึกษาพบว่า (1) กิจกรรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอุบัติการการเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองได้ถึง 7.49 เท่า เทียบกับกลุ่มควบคุม (ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ คือ 7.49๗ และเป็นผลให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเสี่ยงและค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานโดยมีผลต่อค่าเฉลี่ยของดัชนีมวลกายและระดับแรงดันเลือดในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยการปรับวิธีคิด แต่ปัจจัยเสี่ยงด้านความยาวรอบเอวไม่เปลี่ยนแปลง (2) ประสิทธิผลการป้องกันปฐมภูมิการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงพิจารณาจากส่วนต่างของค่าความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานที่ป้องกันได้เท่ากับ 0.0198 หรือพิจารณาจากอัตราอุบัติการณ์ของกลุ่มเสี่ยงมีค่าคะแนนความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลงเท่ากับ 0.2375 (3) ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการป้องกันปฐมภูมิการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโดยกิจกรรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบไม่ค้างคืนเท่ากับ 357,100 บาท โดยเป็นภาระต้นทุนของผู้รับบริการร้อยละ 20.31 (4) ต้นทุน-ประสิทธิผลของการป้องกันปฐมภูมิหนึ่งหน่วยอัตราอุบัติการณ์ของกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าคะแนนความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
ที่มา
วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2551, January-March ปีที่: 2 ฉบับที่ 1 หน้า 859-872
คำสำคัญ
Cost-effectiveness analysis, การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล, Non-insulin dependent diabetes mellitus, โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน, Diabetes primary prevention, prediabetes, prediabetic day camp, Thai diabetes risk score, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน, การป้องกันปฐมภูมิการเกิดโรคเบาหวาน, คะแนนความเสี่ยงโรคเบาหวานสำหรับคนไทย, ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม