การศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาระงับปวดทางช่องเหนือไขสันหลังระดับทรวงอกเปรียบเทียบระหว่างมอร์ฟีน (morphine) กับเฟ็นตานิล (fentanyl) ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทรวงอกหรือช่องท้องส่วนบน
ทรงยศ วลัยฤาชา*, ธนาภรณ์ นภาโชติ, บุศรา ศิริวันสาณฑ์, พัชรี มาบุญญานนท์, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand. E-mail: vsongyos@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลและราคาของการระงับปวดด้วยวิธีการให้ยาเข้าช่องเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลังระดับทรวงอกแบบควบคุมด้วยตัวผู้ป่วยเองด้วย bupivacaine ผสมกับ fentanyl เปรียบเทียบกับ bupivacaine ผสมกับ morphineวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างในผู้ป่วย 90 คน ที่มารับการผ่าตัดที่ช่องอกหรือช่องท้องส่วนบน ผู้ป่วยทุกคนได้รับการดมยาสลบร่วมกับการใส่สายเข้าช่องเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลังเพื่อให้ยาระงับปวด โดยกลุ่ม BF ได้รับ bupivacaine ร้อยละ 0.0625 ร่วมกับ fentanyl และกลุ่ม BM ได้รับ bupivacaine ร้อยละ 0.0625 ร่วมกับ morphine บันทึกอุบัติการณ์และความรุนแรงของผลข้างเคียง คะแนนความปวดขณะพักและเคลื่อนไหว คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วย และราคารวมของยาที่ใช้ในการระงับปวดและการรักษาผลข้างเคียงทั้งหมด เป็นเวลา 48 ชั่วโมงผลการศึกษา: ลักษณะของกลุ่มประชากรที่เข้ารับการศึกษาและคุณภาพการระงับปวดของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันผู้ป่วยร้อยละ 28.5 ของกลุ่ม BM ต้องการยาระงับปวดเข้ากล้ามหรือหลอดเลือดดำภายใน 24 ชั่วโมง หลังเอาสายช่องเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลังออก เปรียบเทียบกับกลุ่ม BF ต้องการยาถึงร้อยละ 51.4 ต้องการยา ความพึงพอใจของผู้ป่วย คะแนนความคันและคะแนนความคลื่นไส้อาเจียน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ค่ามัธยฐานของคะแนนของอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ 18 และ 42 ชั่วโมง ของกลุ่ม BF น้อยกว่า กลุ่ม BM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ต่างกันเมื่อพิจารณาทางคลินิก ราคาของยาที่ใช้ในการระงับปวดและรักษาผลข้างเคียงของกลุ่ม BM และ BF เท่ากับ 470.64 ±160.54 บาท และ 514.15 ± 217.51 บาท ตามลำดับสรุป: การระงับปวดหลังผ่าตัดเข้าช่องทรวงอกหรือช่องท้องส่วนบน ด้วยวิธี ให้ ยาเข้าช่องเหนือไขสันหลังแบบควบคุมด้วยตัวผู้ป่วยเองด้วย bupivacaine ผสมกับ morphine มีความคุ้มค่าในด้านประสิ ทธิผลและราคามากกว่าการใช้ bupivacaine ผสมกับ fentanyl
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2551, July ปีที่: 88 ฉบับที่ 7 หน้า 921-927
คำสำคัญ
cost-effectiveness, Abdominal surgery, Thoracic epidural analgesia, Thoracotomy