ผลของโปรแกรมโยคะต่อความสุขสบายของมารดาในระยะตั้งครรภ์
ทรงพร จันทรพัฒน์*, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, อุไร หัถกิจ
Department of Obstetric Gynecological Nursing and Midwifery, Department of Surgical Nursing, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90112, Thailand. E-mail: [email protected]
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโยคะและความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ ของการฝึกปฏิบัติโยคะต่อความสุขสบายของมารดาในระยะตั้งครรภ์วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (randomized controlled trial) โดยมีกลุ่มทดลองเป็นหญิงครรภ์แรก 37 ราย กลุ่มควบคุม 37 ราย โปรแกรมการฝึกปฏิบัติโยคะครั้งละ 1 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 30, 32, 34, 36,37 สัปดาห์ รวม 6 ครั้งตามลำดับ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามภาวะความสุขสบายและแบบประเมินภาวะความสุขสบายโดยมารดา ร่วมกับแบบบันทึกการปฏิบัติโยคะด้วยตนเองผลการศึกษา: การวิเคราะห์ความแปรปรวนซ้ำโดยใช้สถิติ ANOVA (split-plot design) พบว่า มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขสบายของมารดาระหว่างครั้งตามที่โปรแกรมกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขสบายลดลง แต่กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสุขสบายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (โดย MCQ, F(1, 72) = 4.04 p<.05 และโดย VASTC, F(1, 72) = 11.69 p<.01) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของการฝึกปฏิบัติโยคะกับความสุขสบายของมารดา สรุป: โปรแกรมการฝึกปฏิบัติโยคะวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน จะลดความรู้สึกไม่สุขสบายในระยะหลังของการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น โยคะจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของการดูแลในระยะตั้งครรภ์
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2551, March-April ปีที่: 26 ฉบับที่ 2 หน้า 123-133
คำสำคัญ
Pregnancy, yoga, โยคะ, การตั้งครรภ์, Maternal comfort, ความสุขสบายของมารดา