การศึกษาผลของ pregabalin ต่อการใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกและ/หรือรังไข่
ธนิต วีรังคบุตร, พิพัฒน์ ภัทรวุฒิชัย, มุทิตา กันโอภาส, รุ้งเพ็ชร สุยะเวช, วชิรพล เข็มหอม, วิชัย อิทธิชัยกุลฑล*
Department of Anesthesiology, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: เทคนิคการใช้ยาระงับปวดที่ไม่ใช่ opioids ร่วมกับ opioids เพื่อบำบัดความปวดหลังผ่าตัด (Multimodal pain management) เป็นที่ยอมรับว่าได้ผลดี ทำให้มีอาการข้างเคียงของยาลดลง และสามารถระงับปวดได้ดีขึ้นวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการให้ pregabalin ขนาด 300 มก. 1 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัดเปรียบเทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูก และ/หรือรังไข่ในด้านของปริมาณการใช้มอร์ฟีน และระดับความปวดหลังผ่าตัดวัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วย 80 รายอายุ 18-65 ปี ASA I-III ที่มารับการผ่าตัดมดลูกและ/หรือรังไข่ แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมจะได้รับ lorazepam 0.5 มก. และกลุ่มศึกษาได้รับ pregabalin 300 มก. 1 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ในระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกนำสลบด้วย thiopental 3-5 มก./กก. และ atracurium 0.6 มก./กก. 50% N2O, O2, Sevoflurane และมอร์ฟีน 0.1-0.2 มก./กก. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการระงับปวดด้วยมอร์ฟีนในเครื่อง PCA วัดระดับความปวดด้วย verbal numerical rating scale (VNRS) จำนวนมอร์ฟีน และภาวะแทรกซ้อนที่เวลา 0, 1, 4,12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดผลการศึกษา: พบว่า VNRS ในผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันที่ 0 ชั่วโมง หลังผ่าตัดแต่จะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 1,4,12 และ 24 ชั่วโมง (p < 0.01) มอร์ฟีนที่ใช้ใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดของกลุ่ม pregabalin เท่ากับ 7.11 ± 5.57 มก. ซึ่งมีค่าน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (21.18 ±7.12 มก.) อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) อาการง่วงซึม และคลื่นไส้ อาเจียน มีค่าไม่แตกต่างกัน (p = 0.93) และ (p = 0.11) ตามลำดับ คะแนนความพึงพอใจของการระงับปวดในผู้ป่วยกลุ่ม pregabalin มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การให้ pregabalin 300 มก. 1 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมดลูกและ/หรือรังไข่ สามารถลดอัตราการใช้มอร์ฟีน, และความรุนแรงของความปวดใน 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดโดยอาการข้างเคียงของยาไม่มีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยในกลุ่ม pregabalin มีความพึงพอใจในการระงับปวดมากกว่ากลุ่มควบคุม pregabalin จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้ multimodal analgesia
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, October ปีที่: 92 ฉบับที่ 10 หน้า 1318-1323
คำสำคัญ
postoperative pain, morphine, Pregabalin