คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
สมศักดิ์ เทียมเก่า*, กาญจนศรี สิงห์ภู่, ชูศรี คูชัยสิทธิ์, วาสนา จันทะชุม, ศศิธร แสงพงศานนท์, สุกานดา อริยานุชิตกุล, สุพจน์ คำสะอาด
Division of Neurology, Department of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. Phone: 043-347-542. E-mail: somtia@kku.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเป็นโรคเรื้อรังที่มีการดำเนินของโรคยาวในทุกระยะจนถึงพิการจากการเป็นโรค ทำให้มีความบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต้องพึ่งพิงผู้อื่น และสูญเสียค่าใช้จ่ายทั้งการรักษาในโรงพยาบาล และการดูแลที่บ้าน ดังนั้นจึงได้ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อนำไปสู่การวางแผนการช่วยเหลือทั้งในระดับผู้ป่วย ครอบครัว และระดับสถานบริการสุขภาพ ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ยังไม่เคยมีผู้ใดศึกษามาก่อนวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์การออกแบบการศึกษา: วิจัยเชิงพรรณนาวัสดุและวิธีการ: แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้สร้างขึ้นมาเองที่ได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญ เนื้อหา และระเบียบวิธีวิจัยแล้ว และส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดคุณภาพชีวิต SF-36 ซึ่งแบบวัดนี้ได้มีการนำไปใช้วัดกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาแล้วหลายโรครวม 10 ประเทศ และได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือมาแล้วทั้งฉบับภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยผลการศึกษา: ผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 20 ปี ถึง 91 ปี อายุเฉลี่ย 64 ±12.8 ปีการวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด มีระดับ Modified Rankin Score 1 ร้อยละ 31.6 โรคร่วมที่มักพบได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงและโรคเบาหวาน ตามลำดับ ในด้านคุณภาพชีวิต พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตค่อนข้างดีในทุกด้าน โดยด้านที่ดีที่สุด คือ ด้านสุขภาพจิตโดยมีค่าคะแนนร้อยละ 69.5 รองลงมาคือด้านบทบาทหน้าที่ที่ถูกจำกัดเพราะปัญหาสุขภาพจิต โดยมีค่าคะแนนร้อยละ 68.0 ส่วนด้านที่ไม่ดีที่สุด คือ ด้านความมีชีวิตชีวา พละกำลังหรือเหนื่อยล้า หมดกำลังใจโดยมีค่าคะแนน 60.0 และด้านการรับรู้สุขภาพทั่วไป โดยมีค่าคะแนนร้อยละ 60.0 ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกที่ว่าตัวเองแย่ลง หรือรู้สึกเหนื่อยและหมดแรงสรุป: จากการศึกษานี้สามารถนำไปสู่การจัดระบบบริการผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือดสมอง คือ ควรจัดให้มีทีมดูแลสุขภาพในคลินิกโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นการช่วยเหลือทางอารมณ์และความรู้สึก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, December ปีที่: 92 ฉบับที่ 12 หน้า 1602-1609
คำสำคัญ
Quality of life, SF-36, outpatient, Stroke