การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเชื่อมของปล้องกระดูกสันหลังโดยใช้ bone marrow aspirate ผสมกับ local bone กับการใช้autologous iliac crest bone graft ในการผ่าตัดเชื่อมปล้องกระดูกสันหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเลื่อนที่ระดับ lumbar
นรัตว์ ประสพโชค, นิพนธ์ ปันทะรส*
Orthopaedic department, Lampang Hospital
บทคัดย่อ
การศึกษาแบบ randomized controlled trail ในการผ่าตัดเชื่อมปล้องกระดูกสันหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเลื่อนที่ระดับ lumbar จำนวน 40 ราย เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเชื่อมของปล้องกระดูกสันหลังระหว่างการใช้ bone marrow aspirate ผสมกับ local bone กับการใช้ iliac crest bone graft ผู้ป่วยทุกรายได้รับการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์คนเดียวกัน วิธีการผ่าตัดและอุปกรณ์ดามกระดูกสันหลังชนิดเดียวกัน ส่วนการเชื่อมของปล้องกระดูกสันหลัง ดูจากฟิล์มเอกซเรย์ที่ 12 เดือนหลังผ่าตัด โดยแพทย์อีกท่านหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ได้แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 ราย กลุ่มที่ 1 ใช้ bone marrow aspirate ผสมกับ local bone ส่วนกลุ่มที่ 2 ใช้autologous iliac crest bone graft ในการทำ posterolateral fusion ติดตามหลังผ่าตัด 12 เดือนพบว่า กลุ่มที่ 1 อัตราการเชื่อมปล้องกระดูกสันหลังพบ 85% (17 ใน 20 ราย) ส่วนกลุ่มที่ 2 พบ 90% (18 ใน 20 ราย) ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ส่วนผลแทรกซ้อนบริเวณ iliaccrest กลุ่มที่ 1 ไม่พบเลย กลุ่มที่ 2 พบ 3 ราย (ปวด 1 ราย, กระดูก iliac crest หัก 2 ราย) ซึ่งก็ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) และอาการปวดที่ iliac crest หายไปหลังการผ่าตัด 3 เดือนและกระดูก iliac crest ที่หักไม่มีผลต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วย การศึกษานี้ได้ข้อสรุปว่า การผ่าตัดเชื่อมปล้องกระดูกสันหลังในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเลื่อนที่ระดับ lumbar สามารถใช้ bone marrow aspirate ผสมกับ local bone ซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกับการตัดกระดูก iliac crest มาทำเป็น bone graft
ที่มา
ลำปางเวชสาร ปี 2551, January-June ปีที่: 29 ฉบับที่ 1 หน้า 12-19
คำสำคัญ
aspirate, Bone, fusion, marrow, Posterolateral