การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการพันปมยางและการติดปุ่มเหล็กที่วิ่งล้อรถนั่งคนพิการในผู้ป่วยอัมพาตระดับสูง
อภิชนา โฆวินทะ, อรัญ รัตนพล*
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิภาพของการพันปมยางติดวงล้อเพื่อช่วยให้คนพิการเข็นรถนั่งคนพิการได้สะดวกขึ้นรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเปรียบเทียบแบบสองระยะไขว้กัน (Cross-over trial) ระหว่างการพันปมยางและการติดปุ่มเหล็กสถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ ร.พ.มหาราชนครเชียงใหม่กลุ่มที่ถูกทำการวิจัย: ผู้ป่วยอัมพาตระดับสูง (tetraplegia) จำนวน 30 คนวิธีการ: ผู้ป่วยเข็นรถนั่งคนพิการ 2 คัน คันหนึ่งพันปมยาง และอีกคันหนึ่งติดปุ่มเหล็กที่วงล้อ โดยแต่ละคนจับฉลากเพื่อสุ่มเลือกเข็นรถนั่งคนพิการคันใดคันหนึ่งในสองคันก่อน ผู้ป่วยแต่ละคนเข็นรถคนพิการตามเส้นทาง 5 แนว คือ แนวตรงระยะ 10 เมตร แนวโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 2 เมตร แนวทแยงสลับฟันปลา สลับที่ละ 2 เมตร ยาว 6 เมตร เข็นขึ้นเนินเตี้ยสูง 5 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร และเข็นถอยหลัง 1.5 เมตรก่อนหักเลี้ยวมุมฉากอีก 1.5 เมตร ผู้ป่วยได้พัก 1 นาที ระหว่างการเข็นในแต่ละแนวและพัก 5 นาทีก่อนเข็นรถนั่งคนพิการอีกชนิดหนึ่ง จับเวลาที่ใช้ในการเข็นรถนั่งคนพิการแต่ละแนว หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยกรอกแบบประเมินความพึงพอใจผลการศึกษา: เมื่อประเมินเวลาที่ใช้เข็นรถนั่งคนพิการชนิดปมยางและปุ่มเหล็กพบว่า ผู้ป่วยใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อเข็นรถนั่งคนพิการชนิดพันปมยางอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ใน 3 แนว คือ แนวตรง (เฉลี่ย 26.8, 34.6 วินาที ตามลำดับ) แนวโค้งครึ่งวงกลม (เฉลี่ย 19.1, 22.6 วินาที ตามลำดับ) แนวทแยงสลับฟันปลา (เฉลี่ย 17.4, 21.3 วินาที ตามลำดับ)  แต่ใช้เวลาไม่ต่างกันเมื่อเข็นถอยหลังก่อนหักเลี้ยว (เฉลี่ย 11.1, 14.4 วินาที ตามลำดับ) และเข็นรถขึ้นเนินเตี้ย (เฉลี่ย 8.4, 9.1 วินาที ตามลำดับ) ผู้ป่วย 20 จาก 30 คนพอใจกับปมยางมากกว่าปุ่มเหล็ก เพราะปมยางกระชับมือมากกว่า ส่วนปุ่มเหล็กนั้นทำให้มือเจ็บสรุป: การศึกษานี้ได้พิสูจน์ว่าเราสามารถใช้การพันปมยางแทนการติดปุ่มเหล็กที่วงล้อรถนั่งคนพิการที่มือเป็นอัมพาต/อ่านแรงได้ อีกทั้งการพันปมยางทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย จึงเหมาะกับผู้พิการในประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2545, May-August ปีที่: 12 ฉบับที่ 1 หน้า 26-31