การศึกษาต้นทุน-ประสิทธิผลของยา Rofecoxib และ Celecoxib สำหรับอาการปวดหลังการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์
ปกรณ์ อุรุโสภณ*, ปิ่น ศรีประจิตติชัย, วัชริน สินธวานนท์, สุรัญชนา สรเสนา
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.
บทคัดย่อ
เหตุผลของการทำวิจัย เนื่องจากมีการใช้ยา Rofecoxib และ Celecoxib กันแพร่หลายในการรักษาอาการปวดแผล หลังการผ่าตัดซึ่งได้ผลค่อนข้างดี แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบในแง่ของความคุ้มทุน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาถึงต้นทุนและประสิทธิผลของการใช้ยาดังกล่าววัตถุประสงค์ เปรียบเทียบราคาต้นทุนและประสิ ทธิผลของการใช้ยา Rofecoxibและ Celecoxib ในการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์รูปแบบการวิจัย การศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบสถานที่ทำการศึกษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการศึกษา ผู้ป่วย 45 รายที่มารับการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยตารางสุ่ม ผู้ป่วยจะได้รับยาก่อนการผ่าตัด 1-2 ชั่งโมง โดยกลุ่มควบคุมได้รับ vitamin C 200 มก., กลุ่ม R ได้รับยา Rofecoxib 50 มก. และกลุ่ม C ได้รับยา Celecoxib 400 มก. หลังจากการผ่าตัดจะได้รับการบันทึกอาการปวด โดย verbal numeric score ที่เวลา 0,1,2,4,6, 8, 12 และ 24 ชั่วโมง บันทึกปริมาณ pethidine ที่ได้รับและการรักษา อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ศึกษาประสิทธิผลของยาที่ทำให้ VNS < 3 และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ ยาแก้ปวด ยาแก้อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากนั้นเปรียบเทียบต้นทุนที่ทำให้ได้ประสิทธิผล 100 %ผลการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างในปริมาณของยา pethidine ที่ใช้และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น กลุ่มควบคุมจะมี VNS สูงกว่าอีก 2 กลุ่ม แต่ไม่ต่างกันระหว่างกลุ่ม R และกลุ่ม C จำนวนของผู้ป่วยที่มี VNS < 3 ในกลุ่ม R และ C จะมีปริมาณสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 2 ชั่วโมง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม, กลุ่ม R และกลุ่ม C คือ 991, 1735 และ 1587.20 บาท และต้นทุนที่ทำให้มี ประสิทธิผล 100 % เฉลี่ย ต่อคนคือ 141.52, 115.67 และ 122.09 บาทตามลำดับสรุป การให้ยา Rofecoxib ร่วมไปด้วยเพื่อรักษาอาการปวดหลังการผ่าตัด ต่อมธัยรอยด์จะมีความคุ้มทุนกว่าการใช้ ยา Celecoxib และการใช้ยา pethidine อย่างเดียว
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2548, September ปีที่: 49 ฉบับที่ 9 หน้า 509-518
คำสำคัญ
การผ่าตัดต่อมธัยรอยด์, NSAIDs: COX-2 inhibitor, Thyroid surgery