การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้ยาระงับปวดระหว่าง rofecoxib และ ibuprofen รับประทาน 1 ครั้งก่อนผ่าตัดฟันกรามคุดซี่ที่ 3
วรรณี อันวีระวัฒนา
Department of Dentistry, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
ปัญหา Rofecoxib ซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ ชนิด specific COX –2 inhibitor มีประสิทธิภาพการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับยาสเตียรอยด์ชนิด non-specific COX inhibitor โดยทั่วไปผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลัวและวิตกกังวลต่อความเจ็บปวดหลังผ่าตัดฟันคุดวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ยาระงับปวดระหว่าง rofecoxib 50 มิลลิกรัมและ ibuprofen 400 มิลลิกรัม โดยให้รับประทาน 1 ครั้งก่อนผ่าตัดฟันคุด เพื่อลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดฟันคุดรูปแบบการวิจัย การวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยและวิธีการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 90 รายเข้าร่วมในโครงการวิจัยตั้งแต่ 1 ต.ค. 46 – 31 พ.ค. 47 ต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่จำกัดเพศ และอายุ > 18 ปี ไม่มีโรคทางระบบ ผู้ป่วยถูกจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 30 คน ผู้ป่วยทุกคนได้รับความเจ็บปวดตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงรุนแรงหลังถอนฟัน > 1 ซี่ แต่ต้องมีอย่างน้อย 1 ซี่ที ่เป็นฟันคุด ผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีจับสลาก แบ่งกลุ่ม และจะได้รับยา rofecoxib (Vioxxâ) 50 มิลลิกรัม หรือ ibuprofen (Nurofenâ) 400 มิลลิกรัม หรือยาหลอก ตามลำดับ1 ครั้ง 1 ชั่วโมงก่อนผ่าตัดฟันคุด จากนั้นหลังผ่าตัดฟันคุดผู้ป่วยจะได้รับยาเสริมเพื่อแก้ปวดคือ acetaminophen 500 มิลลิกรัม (Tylenolâ 500 มิลลิกรัม) หลังกลับบ้าน การผ่าตัดฟันคุดทำโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยจะกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาเริ่มต้นของการรับประทานยาระงับปวดก่อนผ่าตัดฟันคุด ระดับการลดความเจ็บปวด โดยใช้มาตราวัดแบบ 5 จุด (0 = ปวดไม่ลด, 1 = ปวดลดน้อย, 2 = ปวดลดปานกลาง, 3 = ปวดลดมาก, 4 =ปวดลดจนหมดไป) โดยบันทึกทุกช.ม.ใน 12 ช.ม.แรกหลังผ่าตัดฟันคุดจากนั้นบันทึกช.ม. ที่ 16, 20 และ 24 นอกจากนี้ผู้ป่วยจะบันทึกผลข้างเคียงของการใช้ยา เวลาที่เริ่มปวดครั้งแรก ความพึงพอใจต่อยาที่รับประทาน และรวมถึงจำนวนเม็ดของยา acetaminophen ที่ใช้ใน 24 ช.ม.ผล          - จากการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS โปรแกรม วิธีทดสอบ Kruskal Wallis และ Chi-square พบว่าข้อมูลอายุ เพศ จำนวนซี่ฟันคุดตำแหน่งฟันคุด ลักษณะของฟันคุด ลักษณะฟันที่ถอนของผู้ป่วยทั้ง3 กลุ่ม จะมีค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และอาการข้างเคียงของยาจะมีค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้วย ส่วนจำนวนยาเม็ดแก้ปวดที่ใช้ จะมีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ Mean (95 %CI) ของกลุ่ม rofecoxib 50 มิลลิกรัม และ ibuprofen 400 มิลลิกรัม และ Placebo โดยลำดับดังนี้ 2.87 (1.5 - 4.24), 5.9 (4.86 - 6.94), 6.8 (5.43 - 8.17) ตามลำดับที่ p < 0.001 และพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อยาที่รับประทานทั้ง 3 กลุ่มจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ- จากบันทึกข้อมูลการลดระดับความเจ็บปวดที่เวลา H0 (ระหว่างผ่าตัด), H2, H6,H10,H16, H20 และแสดงผลในรูปกราฟแท่ง สรุปได้ว่ายา rofecoxib 50 มิลลิกรัม ให้ประสิทธิภาพการลดความเจ็บปวดดีกว่า ibuprofen 400 มิลลิกรัม และ ยาหลอก หลังผ่าตัดฟันคุด- จาก Kaplan-Meier test แสดงค่าเฉลี่ยระยะเวลาที ่เริ่มรู้สึกปวดครั้งแรกช่วงความเชื่อมั่นที่ 95 % ของกลุ่ม rofecoxib, ibuprofen และ กลุ่มยาหลอก โดยลำดับดังนี้ 485, (163 – 807)/255, (234 – 276)/180, (162-198) โดยทั้ง 3 กลุ่มจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p < 0.001 จากกราฟเส้นแสดงว่า rofecoxib 50 มิลลิกรัมให้ประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดดีกว่าและยาวนานกว่า ibuprofen 400 มิลลิกรัมและกลุ่มยาหลอก และระดับการลดความเจ็บปวดจะคงที่ที่นาทีที่ 600 (10 ช.ม.) และยังคงที่จนถึงนาทีที่ 1,440 (= 24 ช.ม.) โดยคงที่ที่ระดับ 0.4สรุป จากผลการวิจัยพบว่าการรับประทาน rofecoxib 50 มิลลิกรัมก่อนผ่าตัดฟันคุด 1 ช.ม. จะให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดความเจ็บปวดได้ดีกว่าและยาวนานกว่ายา ibuprofen 400 มิลลิกรัม ขณะที่ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ เพื่อลดความเจ็บปวดของยาทั้ง 2 ชนิดใน 6 ช.ม. แรกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การรับประทานยา ibuprofen 400 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องจะมีประสิทธิภาพลดความเจ็บปวด ซึ่งต้องคำนึงถึงระบบกระเพาะลำไส้เป็นแผลมีเลือดออกและมีผลต่อแข็งตัวของเกร็ดเลือด ตลอดจนความผิดปกติของระยะเวลาเลือดออก
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2547, September ปีที่: 48 ฉบับที่ 9 หน้า 599-612
คำสำคัญ
การลดความเจ็บปวด, Pain relief, Specific cyclooxygenase (COX)-2 inhibitor, Nonspecific cyclooxygenase (COX) inhibitor