การเปรียบเทียบผลการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131) ในปริมาณสูง 100 มิลลิคูรี และปริมาณต่ำ 50 มิลลิคูรี ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด differentiated
ปัญญา ภาสว่าง, วัชรี บัวชุม, ศศิธร ศิริสาลิโภชน์*, สุพจน์ บุญวิสุทธิ์, สุภัทรพร เทพมงคล
Department of Radiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
เหตุผลของการทำวิจัย: การให้สารรังสีไอโอดีน (I-131) เพื่อทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ พบว่าสามารถลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามการรักษา แต่ยังมีข้อถกเถียงในแง่ปริมาณสารรังสีไอโอดีนที่จะให้เพื่อการนี้วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131) ในปริมาณสูง 100 มิลลิคูรี และปริมาณต่ำ 50 มิลลิคูรี ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์และเพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จในการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131)รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทางคลินิกแบบไปข้างหน้าโดยการสุ่มสถานที่ทำการศึกษา: สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิ ชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตัวอย่าง/วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 138 คน ซึ่งได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (อย่างน้อยแบบ subtotal) ที่ไม่พบว่ามีโรคหลงเหลือเฉพาะที่ และไม่พบว่ามีการกระจายของโรค ถูกสุ่มให้ได้รับสารรังสีไอโอดีนปริมาณต่ำ 63 ราย และปริมาณสูง 75 ราย ทั้งหมดได้รับการตรวจ I-131 total body scan และ neckuptake รวมถึงตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ thyroxine (T4), thyroid stimulating hormone (TSH) และ thyroglobulin (Tg) เป็นพื้นฐานหลังจากนั้น 6 - 8 เดือนผู้ป่วยจะถูกประเมินผลการรักษาหลังจากงดไทรอยด์ฮอร์โมน โดยเกณฑ์การพิจารณาว่าประสบผลสำเร็จ ได้แก่ 1) ไม่เห็นว่ามีสารรังสีบริเวณ thyroid bed จากการทำ I-131 total body scan หรือ 2) neck uptake ที่ 48 - 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 0.2 %และระดับ Tg ต่ำกว่า 10 ng/mlผลการทดลอง: อัตราการประสบผลสำเร็จในการทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดโดยรวมเท่ ากับ 76.8 % โดยกลุ่มที่ได้รับสารรังสีไอโอดีนปริมาณสูงมี อัตราการประสบผลสำเร็จสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับปริมาณต่ำ (86.7 % และ 65.1 %, P value 0.003) จาก logistic regression analysis ยืนยันว่าปริมาณสารรังสี ไอโอดีนที่ให้มีผลต่ออัตราการประสบผลสำเร็จ (odds ratio 4.04, 95 % confidenceinterval; 1.64 - 9.93) นอกจากนี้ปัจจัยที่พบว่ามีผลต่ออัตราการประสบผลสำเร็จได้แก่ระดับ T4 (odds ratio 0.72, 95 % confidence interval; 0.59 - 0.88) และ TSH (odds ratio 1.02, 95 % confidence interval;1.00 - 1.03) สำหรับปัจจัยอื่ น ๆ ได้แก่อายุ, เพศ, ชนิดของเซลล์, ระดับ Tg, neck uptake, ระยะเวลาระหว่างการผ่าตัดและการให้สารรังสีไอโอดีน ตลอดจนระยะเวลาระหว่างการทำ total body scan และการให้สารรังสีไอโอดีน ไม่มีผลต่ออัตราการประสบผลสำเร็จสรุป: สารรังสีไอโอดีนปริมาณสูง 100 มิลลิคูรีให้ประสิทธิภาพในการทำลายเนื้อเยื่อไทรอยด์ ที่เหลือหลังจากการผ่าตัดสูงกว่าสารรังสีไอโอดีนปริมาณต่ำ 50 มิลลิคูรี นอกจากนี้พบว่าระดับ T4 ที่ต่ำและระดับ TSH ที่สูง ก็มีผลต่ออัตราการประสบความสำเร็จ โดยน่าจะมีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับขนาดของเนื้อเยื่อไทรอยด์ที่เหลือ
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2549, October ปีที่: 50 ฉบับที่ 10 หน้า 695-706
คำสำคัญ
I-131, การวิจัยแบบไปข้างหน้า, ปริมาณต่ำ, มะเร็งต่อมไทรอยด์, สารรังสีไอโอดีน, Thyroid cancer, Remnant ablation, Low dose, Prospective randomized trial