คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
กรองได อุณหสูต, เพ็ญจันทร์ เสรีวัฒนา*
ภาควิชาพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่มารับการรักษาที่ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 120 ราย โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาต้านการเต้นเร็วผิดจังหวะของหัวใจมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยประยุกต์กรอบแนวคิดของชาน (Zhan) ร่วมกับ SF36 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้านคือ ด้านความพึงพอใจในชีวิต ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านสุขภาพและการทำงานของร่างกาย และด้านสังคมเศรษฐกิจ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และหาความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น =0.81                 ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีการเต้นของหัวใจเร็วผิดจังหวะ Atrioventricular reentrant tachycardia มีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงสุด และกลุ่มตัวอย่างที่มีการเต้นของหัวใจเร็วผิดจังหวะชนิด Venticular tachycardia มีคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำสุด ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจเร็วผิดจังหวะให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พยาบาลจะต้องเข้าใจถึงผลกระทบของการเจ็บป่วยที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว 
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2543, July-September ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 77-83