การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้ chitin/polyacrylic acid (PAA), lipido-colloid absorbent dressing และ alginate รักษาบาดแผลที่มีหนังแท้เหลืออยู่บางส่วน
ประยุทธ โชครุ่งวรานนท์, พุดตาน ตันวัชรพันธ์, วิมล ศิริมหาราช, สมฤทัย ชรรณษานนท์, สิริพร โตนดแก้ว, อภิชัย อังสพัทธ์*
Division of Plastic and Reconstructive Surgery, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
Polyacrylic acid grafted chitin (Chitin-PAA) ประกอบด้วย hydrogel ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว ทำให้มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุทำแผล ในการศึกษากับสัตว์ทดลองพบว่า Chitin-PAA dressing มีคุณสมบัติเป็นวัสดุทำแผลที่พัฒนาขึ้นมาตามความต้องการโดยพบว่าทำให้มี epithelialization เพิ่มขึ้น แผลมีขนาดลดลงอย่างรวดเร็ว, ลดการตอบสนองของเซลล์ที่ทำให้มีการอักเสบ และมีความเป็นพิษน้อยกว่า ผู้นิพนธ์ได้ทำการศึกษานำร่องทางคลินิก เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง Chitin-PAA, วัสดุทำแผลชนิด lipido-colloid ชนิดที่สามารถดูดซับน้ำเหลืองได้และ alginate ในการรักษาบาดแผลที่มีหนังแท้เหลืออยู่บางส่วนระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดยทำการศึกษากับบาดแผลทั้งหมด 36 แผล ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 3 กลุ่ม และใช้กับวัสดุทำแผล 3 ชนิด ทำการรักษาแผลแต่ละแผลจนหายสนิทและได้มีการใช้ visual analogue scale สำหรับประเมินความเจ็บปวด ผลการศึกษาแสดงว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในอัตราการหาย หรือความเจ็บปวดในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มในช่วงระยะเวลา 3 วันแรกหลังผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, June ปีที่: 93 ฉบับที่ 6 หน้า 694-697
คำสำคัญ
Wound healing, Alginate dressing, Chitin, Chitin PAA, Lipido-colloid absorbent dressing, Partial-thickness wound, Polyacrylic acid