การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ และจุดคุ้มทุน ในการบริการเพื่อสาธารณะของสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พอลักษณ์ ปาณะดิษ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะโครงสร้างเชิงเศรษฐศาสตร์ของสถานีวิทยุจุฬาฯ วิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนผลได้ และจุดคุ้มทุน ในการบริการเพื่อสาธารณะของทางสถานี โดยทำการศึกษาโครงสร้างต้นทุนประเภทต่างๆ ทั้งต้นทุนการผลิต ต้นทุนการดำเนินงาน โครงสร้างค่าใช้จ่าย แหล่งที่มาของรายได้ ประเภทของผลประโยชน์หรือผลได้ที่ทางสถานีได้รับ รวมถึงรูปแบบในการให้บริการแก่สาธารณะ โดยใช้ข้อมูลของปี พ.ศ.2535-2545 เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ และใช้เป็นพื้นฐานในการตั้งสมมติฐานทางการเงินสำหรับประมาณการรายได้-ต้นทุนของสถานีวิทยุจุฬาฯในอีก 10 ปีข้างหน้า และใช้ข้อมูลปี 2545 เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน และการวิเคราะห์ค่าเสียโอกาส ซึ่งในการวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ จะใช้วิธีการหามูลค่าปัจจุบันของต้นทุนและผลได้ เพื่อนำไปหามูลค่าปัจจุบันสุทธิและอัตราส่วนผลได้ต่อทุนของโครงการ อัตราส่วนลดที่ใช้ในการคำนวณ คือ ร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน จะแบ่งเป็น การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนแบบปรกติ และการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนโดยคิดรวมต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต ซึ่งในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนแต่ละวิธีนั้น ยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 6 กรณี ตามประเภทของหน่วยงานที่ดำเนินการผลิตรายการออกอากาศ และตามวันเวลาในการออกอากาศ ดังนี้คือ กรณีที่ 1 ให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศ ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ กรณีที่ 2 ให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศ ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ กรณีที่ 3 สถานีวิทยุจุฬาฯดำเนินการผลิตรายการออกอากาศเอง ในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ กรณีที่ 4 สถานีวิทยุจุฬาฯดำเนินการผลิตรายการออกอากาศเอง ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ กรณีที่ 5 ให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศ ร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สถานีวิทยุจุฬาฯให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศในช่วงวันจันทร์-ศุกร์ ในปัจจุบัน และกรณีที่ 6 ให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศ ร้อยละ 9.3 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สถานีวิทยุจุฬาฯ ให้หน่วยงานภายนอกเช่าเวลาออกอากาศในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ในปัจจุบัน สำหรับการวิเคราะห์ค่าเสียโอกาสนั้น คำนวณจากรายได้ที่อาจจะเกิดขึ้นจากแต่ละวิธีที่ได้ดำเนินการออกอากาศ และรายได้จากการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุน-ผลได้ ของการดำเนินงานในโครงการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ...
ที่มา
M.A. (Communication Arts) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2546
คำสำคัญ
analysis, Economic, programs, Public, Break-even, Broadcasting, Chulalongkorn, Radio, services, Station, University