ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดเข่าร่วมการพอกด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม)
ธนิดา ขุนบุญจันทร์, ยลชัย จงจิระศิริ, กฤษณะ คตสุข*, ณัฐกิตต์ พรบัณฑิตปัทมา, เจนระวี สว่างอารีย์รักษ์, สิริรัตน์ จันทรมะโน, สิริรักษ์ อารทรากร
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
บทคัดย่อ
 บทนำและวัตถุประสงค์: โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีชื่อเรียกตามศาสตร์การ แพทย์แผนไทยว่า “โรคลมจับโปง” มี 2 ชนิด คือ โรคลมจับโปงน้ำและโรคลมจับโปงแห้ง งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบอาการทางคลินิกก่อนและหลังการรักษาด้วยการนวดและการพอกยาสมุนไพร โดยได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (เลขที่ 10/2563)
วิธีกรศึกษา: ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 เป็นการศึกษาทดลองเชิงสุ่มและมีกลุ่ม เปรียบเทียบ ในผู้เข้าร่วมวิจัยโรคลมจับโปงแห้งเข่า จำนวน 300 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 150 คน กลุ่มทดลองมีการนวดเข่าร่วมกับการพอกยาสมุนไพร ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ มีการนวดเข่าอย่างเดียว ให้การรักษาวันเว้นสองวัน จนครบ 5 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์ ใช้แบบประเมิน WOMAC ในการ ประเมินผลการรักษาและมีการประเมินความปลอดภัยจากอาการไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย t-test และ Repeated Measures ANOVA
ผลกรศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี มีภาวะเข่าเสื่อมในระยะที่ 2-3 ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่ม มีอาการปวดและฝืดลดลง การใช้งานของข้อเข่าดีขึ้น โดยกลุ่มทดลองที่ได้รับการ พอกยาสมุนไพรร่วมด้วย มีอาการทางคลินิกดีขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p < 0.05 โดยอาการ ด้านความปวดและด้านการใช้งานดีขึ้นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 5 ส่วนด้านความฝืดดีขึ้นต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ครั้งที่ 4 และ 5 ทั้งสองกลุ่มไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการนวดและพอกเข่า
อภิปรยผล: การนวดและกดจุดสัญญาณช่วยให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อคลายตัว ระบบการไหลเวียนโลหิตดี ขึ้น ลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อและลดการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่า ในส่วนสมุนไพรที่ใช้พอกเข่า พบว่า ไพลมี สรรพคุณลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิผล จากการซึมผ่านผิวหนังและดูดซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังชั้นในของร่างกาย ด้วยฤทธิ์ของสมุนไพรในการลดอาการปวดและอักเสบของเนื้อเยื่อ เมื่อได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 5 ครั้ง อาการทาง คลินิกจึงดีขึ้นอย่างชัดเจน
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: การนวดรักษาโรคลมจับโปงแห้งเข่าร่วมกับการพอกเข่า เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดอาการต่าง ๆ และเป็นการส่งเสริมการรักษาแบบประคับประคองความเสื่อมของข้อเข่า ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปได้ตามปกติ
 
ที่มา
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี 2566, January-April ปีที่: 22 ฉบับที่ 1 หน้า 7-18
คำสำคัญ
effectiveness, Knee osteoarthritis, ประสิทธิผล, Safety, massage, ความปลอดภัย, herbal poultice, การนวดเข่า, การพอกด้วยสมุนไพร, โรคลมจับโปงแห้งเข่า (โรคข้อเข่าเสื่อม)