การเปรียบเทียบผลการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยการฉีดยามอร์ฟีนเข้าทางหลอดเลือดดำกับการฉีดเข้ากล้าม ในหอผู้ป่วยที่มีการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในเชิงรุกแบบสหสาขา (multidisciplinary care path)
ภีรภัทร์ ตั้งกิจงามวงศ์, วาริท รัศมีทัต, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์*, สันติ พงศ์ภัณฑารักษ์
Department of Anesthesiology, Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand E-mail: sivsl@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการระงับปวดหลังผ่าตัดและผลข้างเคียงระหว่างวีธีฉีดยาทางหลอดเลือดดำ (IV) เมื่อต้องการ (p.r.n) ทุก 2 ชั่วโมง กับวิธีฉีดเข้ากล้าม (IM) p.r.n ทุก 4 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยที่พยาบาลได้รับการอบรมให้ใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในเชิงรุกแบบสหสาขา (multidisciplinary care path) ซึ่งเป็นแนวทางการให้ความรู้ผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยในหลายๆ ด้านพร้อมกันตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัดจนถึงการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยมีคะแนนปวดหลังผ่าตัดไม่เกิน 3 ใน 10 คะแนน และศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ป่วย และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลวิธีการ: ศึกษาไปข้างหน้า แบบปกติด้านเดียวและมีกลุ่มเปรียบเทีบบในการสุ่ม ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทางนรีเวช จำนวน 80 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้มอร์ฟีน 10 มก. IM p.r.n ทุก 4 ชั่งโมง และกลุ่มที่ได้มอร์ฟีน IV p.r.n ทุก 2 ชั่วโมง ตามคะแนนปวด 0-10 คือคะแนนน้อยกว่า 7 ให้ 1 มก. คะแนน 7 ขึ้นไปให้ 2 มก. บันทึกคะแนนปวด ปริมาณมอร์ฟีน อาการข้างเคียงต่างๆ สัมภาษณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับความพึงพอใจ และขอให้แพทย์ประจำบ้านและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยนี้ตอบแบบสอบถามผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วที่มีคะแนนปวด 4 ขึ้นไป และ 7 ขึ้นไปใน 48 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้ IV และ IM ไม่แตกต่างกัน (95% และ 42.5% เปรียบเทียบกับ 97.5% และ 45% ตามลำดับ) กลุ่ม IM เจ็บจากการถูกฉีดยามากกว่ากลุ่ม IV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การหายปวด หลังได้รับยามอร์ฟีนใช้เวลาไม่ต่างกัน แต่ผลการระงับปวดโดยรวมในกลุ่ม IV ลดลงได้มากกว่า (p = 0.005) และมีอาการคลื่นไส้ น้อยกว่ากลุ่ม IM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002, p > 0.001 และ p = 0.003 ตามลำดับ) ไม่พบการกดการหายใจ พยาบาลหอผู้ป่วยตอบแบบสอบถามว่าทั้งสองวิธีคล้ายกันในความสะดวกของการบริหารยา ส่วนแพทย์ตอบว่าถูกตามเนื่องจากผลการระงับปวดไม่เพียงพอในกลุ่มที่ได้ IM มากกว่า IV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.07) สรุป: ผลการระงับปวดโดยวิธีการฉีดมอร์ฟีนโดยวิธี IV p.r.n ทุก 2 ชั่วโมง ไม่แตกต่างจากวิธีการฉีดมอร์ฟีนโดยวิธี IM p.r.n ทุก 4 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยที่ใช้ multidisciplinary care path สำหรับการระงับปวดหลังผ่าตัดทางนรีเวช แต่การฉีดด้วยวิธี IV ทำให้ผู้ป่วยเจ็บจากการถูกฉีดน้อยกว่า ใช้ประมาณ มอร์ฟีนน้อยกว่า มีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า แม้ว่าผู้ป่วยจะให้คะแนนความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน พยาบาลให้ความเห็นว่าความสะดวกในการบริหารยาทั้งสองวิธีคล้ายกัน ขณะที่แพทย์ตอบว่าการให้ยาด้วยวิธี IM ทำให้ถูกตามเพราะผู้ป่วยไม่หายปวดมากกว่า
ที่มา
สารศิริราช ปี 2549, December ปีที่: 58 ฉบับที่ 12 หน้า 1216-1221
คำสำคัญ
postoperative pain, Intravenous, Intramuscular, Multidisciplinary care path