การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มระหว่างยาเซเลคอกซิบกับการฉีดยาสเตียรอยด์ในการรักษาเอ็นศอกด้านนอกอักเสบ
เสริมศักดิ์ สุมานนท์
Anan Srikiatkhachorn
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาเซเลคอกซิบ 200 มก/วัน และยาฉีดไตรแอมซิโนโลน 10 มก. ผสมกับ 1 เปอร์เซ็นต์ลิโดเคน 1 มล. ที่ไม่ผสมอะดรินาสินในการรักษาภาวะเอ็นศอกด้านนอกอักเสบรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลอง แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสถานที่ทำวิจัย: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่มีเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ 40 รายได้รับการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม A ได้รับการฉีดยาไตรแอมซิโนโลน 10 มก. ผสมกับ 1 เปอร์เซ็นต์ลิโดเคน 1 มล. ที่ไม่ผสมอะดรินาลินเข้าตำแหน่งที่เจ็บ ขณะที่กลุ่ม B ได้รับยา NSAIDs ชนิด COX-2 inhibitor คือ เซเลคอกซิบ 200 มก. วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลภายหลังให้ยาเหมือนกัน วัดผลการรักษาโดย VAS (Visual Analogue Score), pain pressure threshold, แรงบีบมือ, ปริมาณยาแก้ปวดที่กิน และอาการข้างเคียงของการรักษาทั้ง 2 กลุ่ม โดยติดตามผลรักษา 1,2, และ 3 เดือน ผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีความคล้ายคลึงกันในด้านอายุ เพศ จำนวนข้างถนัดที่เป็นโรค การเหยียดข้อมือไม่สุดและอาชีพ ผลสำเร็จของการรักษาที่เวลา 1 เดือน ในกลุ่มฉีดยาสเตียรอยด์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเซเลคอกซิบ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คือ 89.5 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับ 10.5 เปอร์เซ็นต์ (ค่า p-value <0.0001) อาการข้างเคียงที่พบบ่อยในกลุ่มฉีดยาสเตียรอยด์ คือ อาการปวดหลังฉีดยา ซึ่งปวดรุนแรง 31.6 เปอร์เซ็นต์, ปวดปานกลาง 26.3 เปอร์เซ็นต์และ ปวดน้อย 15.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาการข้างเคียงอื่นของกลุ่มที่ได้รับยาเซเลคอกซิบ ใกล้เคียงกับกลุ่มฉีดยาสเตียรอยด์ สรุป: เวลา 1 เดือน หลังการรักษา การฉีดยาสเตียรอยด์มีประสิทธิภาพดีกว่าการกินยาเซเลคอกซิบ ในการรักษาภาวะเอ็นศอกด้านนอกอักเสบ
ที่มา
M.Sc. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2546