การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองพยาธิสภาพจอประสาทตาจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
สุภาพร พรพิเนตพงศ์
ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์
บทคัดย่อ
พยาธิสภาพจอประสาทตาจากโรคเบาหวานซึ่งเป็นสาเหตุทำ ให้เกิดความผิดปกติทางสายตาจนถึงขั้นตาบอดได้นั้นสามารถป้องกันได้ถ้าได้รับการตรวจพบและรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ตั้งแต่ระยะแรก วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของความถี่ของการตรวจคัดกรองพยาธิสภาพจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยเครื่องมือ Indirect ophthalmoscopy โดยจักษุแพทย์ ในมุมมองของโรงพยาบาลโครงสร้างแบบจำ ลองโรคของการศึกษาประกอบด้วย 6 สถานะสุขภาพ: NDR (ไม่มีพยาธิสภาพจอประสาทตา), BDR, PDR, ME, ตาบอด, และเสียชีวิต ค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนจากสถานะสุขภาพหนึ่งไปสู่สถานะสุขภาพหนึ่งได้จากการทบทวนวรรณกรรมและผู้เชี่ยวชาญ สำ หรับข้อมูลต้นทุนได้รับจากโรงพยาบาลรามาธิบดีการวิเคราะห์กรณีหลักทำ โดยใช้แบบจำ ลองมาร์คอฟ (Markov model) โดยทำ การจำ ลองสถานการณ์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นครั้งแรก จำนวน 10,000 คน อายุ 40 ปี ทำ การจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเหล่านั้น จนถึงอายุ 75 ปีหรือเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยประสิทธิผลในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองทุก 4 ปีเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่่วยที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมีค่าเท่ากับ 85,976.89 บาทต่อการป้องกันตาบอดได้หนึ่งตาอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยประสิทธิผลในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองทุก 3 ปีเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองทุก 4 ปี, ทุก 2 ปีเปรียบเทียบกับทุก 3 ปี และทุกปีเปรียบเทียบกับทุก 2 ปี มีค่าเท่ากับ 62,806.34 บาทต่อการป้องกันตาบอดได้หนึ่งตา, 70,553.97 บาทต่อการป้องกันตาบอดได้หนึ่งตาม และ 95,865.04 บาทต่อการป้องกันตาบอดได้หนึ่งตา ตามลำ ดับผลการวิเคราะห์ความไวพบว่า ถ้าต้นทุนของการตรวจคัดกรอง, ต้นทุนของการรักษาด้วยแสงเลเซอร์, โอกาสที่ผู้ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองจะมาพบแพทย์ด้วยตนเอง, โอกาสที่ผู้ได้รับการตรวจคัดกรองจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดจอประสาทตา และอัตราการตายเพิ่มขึ้น จะทำ ให้อัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ถ้าการดำ เนินโรค, ประสิทธิภาพของการรักษา, ความเสี่ยงของการเกิด BDR เมื่อแรกเริ่มวินิจฉัยโรคเบาหวาน, อัตราการปรับลด, โอกาสที่ผู้ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดจอประสาทตา, ความไวและความจำ เพาะของการตรวจคัดกรองเพิ่มขึ้น จะทำ ให้อัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยประสิทธิผลลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าระดับนํ้าตาลในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองลดลง จะส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วยประสิทธิผลลดลงอย่างมาก เมื่อวิเคราะห์ในมุมมองทางสังคม พบว่าการได้รับการตรวจคัดกรองจอประสาทตานั้นมีต้นทุนที่ตํ่ากว่าและสามารถป้องกันตาบอดได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง
ที่มา
เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารเภสัชกิจ) มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2548
คำสำคัญ
Diabetes mellitus, screening, Cost-effectiveness analysis, Markov model, DIABETIC RETINOPATHY